วันนี้ | 74 |
เมื่อวาน | 62 |
เดือนนี้ | 1,872 |
เดือนที่แล้ว | 2,454 |
ปีนี้ | 30,711 |
ปีที่แล้ว | 41,773 |
ที่ตั้ง หมู่ 2 บ้านกู่ ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติ
กู่สันตรัตน์ เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะแบบขอม เป็นสถานที่ที่เรียกว่าอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาล
ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมรอบในกรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ทางด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งน่าจะหมายถึงบาราย ซึ่งเป็นไปตามคติของขอม(เขมร) ที่ว่าเมื่อมีการสร้างปราสาทหิน ก็จะมีการขุดสระหรือบารายกักน้ำไว้ในที่ใกล้เคียงนั้นด้วย
ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้าปราสาท มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระ ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนประตูทางเข้านั้น ปรากฎให้เห็นว่ามีแผ่นทับหลังอยู่เหนือประตู กับมีเสาประดับที่กรอบประตูทั้งสองด้าน
แผ่นทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายแต่ไม่มีการสลักลายใดๆทั้้งสิ้น จึงดูคล้ายกับว่าทำยังไม่เสร็จ
องค์ประกอบปราสาทมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นประตูหลอก เมื่อพิจารณาเฉพาะองค์ปราสาทแล้วสันนิฐานได้ว่า กู่สันตรัตน์ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์
เพราะทางด้านหน้าตอนบนนั้นมีช่องเว้นไว้ เป็นช่องสามเหลี่ยม ซึ่งส่วนนี้เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ก็คือหน้าบัน ที่จะทำด้วยหินทรายซึ่งคงต้องสลักลวดลายประกอบด้วย สิ่งสำคัญต่อมาคือแผ่นทับหลัง ที่ตั้งอยู่เหนือกรอบประตูนั้น มีแผ่นหินทรายวางไว้แต่ยังไม่มีการสักลวดลายใดๆทั้งสิ้น
โดยทั่วไปแผ่นทับหลังต้องมีการสลักลายหรือภาพประกอบไว้เสมอ แม้เสาประดับกรอบประตูทั้ง 2 ด้าน มักมีสลักลายประดับเช่นกัน แต่เสาที่อยู่ติดประกอบทางด้านซ้ายนั้นยังเป็นแท่งหินทรายเรียบๆอยู่ไม่มีลวดลายใดๆทั้งสิ้น
คงมีเฉพาะเสาประดับกรอบประตูทางด้านขวาของปราสาทเท่านั้น ที่ได้สลักลายไว้อย่างคร่าวๆ จากลักษณะเฉพาะของขอม สันนิฐานได้ว่า
ปราสาทองค์นี้ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ช่างได้สร้างไปตามแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของขอม คือแม้องค์ปราสาทจะก่อด้วยหินทรายหรือศิลาแลง แต่ส่วนสำคัญทั้ง 3 คือ หน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูห้อง ทำด้วยหินทรายเสมอ ทั้งนี้เพราะหินทรายมีคุณสมบัติเหมาะกับการแกะสลักในสถาปัตยกรรมหินทรายโดยเฉพาะ
อายุสมัย
เมื่อพิจารณาจากแผนผังของอาคารแล้ว สันนิฐานว่า น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในศิลปะขอมยุคแบบบายน ราวพุทธศตวรรษที่ 18
ประโยชน์ใช้สอย
สันนิฐานว่า เป็นอโรคยาศาลาสถานพยาบาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 และประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2525 พื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา