ศาลานางขาว

 

ปราสาทกู่ศาลานางขาว


ที่ตั้ง หมู่ที่ 2 บ้านกู่ ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ประวัติ
เป็นศาสนสถานศิลาแลง ประกอบด้วย ฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางด้านทิศใต้ มีซุ้มประตูหรือโคปุระรูปกากบาทด้านทิศตะวันออกของตัวอาคาร

ด้านหลังอาคารพบใบเสมาศิลาแลงตรงกลางสลักรูปสถูปกลางใบ จากการขุดแต่งโบราณสถานศาลานางขาวในปี พ.ศ.2514 ได้พบศิลาจารึก 1 หลัก เขียนด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 มีเนื้อหากล่าวว่า

พระบาทบรมไกวัลยบท(พระเจ้าชัยวรมันที่ 6) มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาพวกข้าราชการผู้มีนามว่า ราชปติวรมัน 3 คน จารึกสุพรรณบัฎเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ในกัมรเตงชคต หรือเทวสถาน
 

ปราสาทประธานหันหน้าไปด้านทิศตะวันตก

 

ใบเสมาศิลาแลงที่มีการสลักรูปสถูปไว้กลางใบ

 

จารึกสุพรรณบัฎ

 

เทวรูปที่ได้จากการขุดแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น

 

เทวรูปที่ได้จากการขุดแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น

 

อายุสมัย
เมื่อพิจารณาจากแผนผังของอาคารแล้ว สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในศิลปะทวาราวดี ถึงสมัยขอม ราวพุทธศตวรรษที่ 13-16

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถาน เล่มที่ 121 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478


  รอบรั้วพระธาตุนาดูน  
  หน้าแรก คณะกรรมการ
  ข่าวทั้งหมด หน่วยงานภายนอก
  ประวัติพระธาตุนาดูน พระกรุนาดูน/จดหมายเหตุ
  ดาวน์โหลดไฟล์ ข้อมูลการติดต่อ
  หนังสืออิเลคทรอนิกส์
  กองทุนพัฒนาและอนุรักษ์พระบรมธาตุนาดูน ตำบล พระธาตุ อำเภอ นาดูน มหาสารคาม 44180